วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

:คุตบะฮฺและพิธีการทำนิก๊ะ มัสยิดอัต-ตักวาเชียงใหม่

บรรยายศาสนา:คุตบะฮฺและพิธีการทำนิก๊ะ โดย อ.มุฮัมหมัด บินต่วน-อ.อุมัร มาตระกูล





นน



นิกะห์เป็นพิธีแต่งงานของผู้ทีนับถือศาสนาอิสลาม เริ่มต้นเมื่อชายหญิงตกลงใจกันและฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอ การสู่ขอนี้จะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องมะฮัว (สินสอดทองหมั้น) และตกลงเรื่องกำหนดวันแต่งงาน (นิกะห์)



การทำพิธีนิกะห์ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ



  1. ผู้ปกครองของฝ่ายเจ้าสาว เรียกว่า วะลี คือชายที่มีสิทธิในการประกอบพิธีนิกะห์ให้แก่หญิง ซึ่งจะต้องเป็นชายที่นับถือศาสนาอิสลามที่ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์

  2. ผู้ทำพิธีนิกะห์ ผู้ปกครองอาจทำพิธีนิกะห์เอง หรือมอบให้โต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู ก็ได้

  3. เจ้าบ่าว

  4. พยาน 2 คน ต้องเป็นชายมุสลิมที่เชื่อถือได้

  5. ผู้อบรมหรืออ่านคุฎะฮ์นิกะห์

  6. มะฮัร คือสินสอดทองหมั้นที่จะมอบแก่เจ้าสาว


ขั้นตอนการทำพิธีนิกะห์



ถึงวันทำพิธีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเชิญโต๊ะอิหม่ามหรือโต๊ะครูเป็นประธาน และต้องมีองค์ประกอบให้ครบ 6

ประการ ตามหลักศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นด้วย การทำพิธีนิยมทำที่บ้านเจ้าสาว

เมื่อเจ้าบ่าวและผู้ใหญ่มาถึงบ้านเจ้าสาว บิดาของเจ้าสาวก็จะไปขอความยินยอมจากเจ้าสาว (ขณะนั้นเจ้าสาว

อยู่ในห้อง) โดยบิดาเจ้าสาวกล่าวว่า “ข้าจะแต่งงานเจ้ากับ…(ออกชื่อเจ้าบ่าว) เจ้าจะยินยอมหรือไม่” เจ้าสาวจะให้คำตอบ ถ้าไม่ยินยอมพิธีจะดำเนินไปไม่ได้ถือว่าผิดหลักศาสนา จากนั้นบิดาฝ่ายเจ้าสาวก็มอบภารกิจ (วอเก) การแต่งงานให้กับโต๊ะอิหม่าม โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านอิหม่ามทำพิธีแต่งงานลูกสาวข้าพเจ้าชื่อ…(ออกชื่อเจ้าสาว) กับ ….(ออกชื่อเจ้าบ่าว)” เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามก็จะตอบว่า “ข้าพเจ้าขอรับวอเก” แล้วเรียกเจ้าบ่าวเจ้าสาวและพยาน 2 คน พร้อมด้วยผู้จดบันทึกหลักฐาน



จากนั้นโต๊ะอิหม่าม หรือผู้ทำพิธีนิกะห์ จะสอนเจ้าบ่าวเจ้าสาวเกี่ยวกับการครองชีวิตคู่ ย้ำถึงเจ้าบ่าวเจ้าสาว

พยาน เงินสินสอด เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะจับมือเจ้าบ่าวพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้..(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ที่แต่งงานกับ…(ออกชื่อเจ้าสาว) โดยได้รับการมอบฉันทะจากบิดาฝ่ายหญิงแก่ข้าโดยมีค่าสินสอด..(บอกจำนวนสินสอด)” เมื่อโต๊ะอิหม่ามกล่าวจบแล้วเจ้าบ่าวจะกล่าวรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับการแต่งงานนี้ โดยมีสินสอดจำนวนดังกล่าวนี้” จากนั้นโต๊ะอิหม่ามจะอ่านดูอา เพื่อให้พระอัลลอฮ์ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาว เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็นสามีภรรยาแก่เจ้าบ่าวว่า ตามหลักศาสนานั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยา และอยู่รวมกันตามหน้าที่ของสามีภรรยา หากไม่เป็นเช่นนี้ผู้เป็นภรรยาก็มีสิทธิ์จะฟ้องร้องสามีต่อคณะกรรมการอิสลามหรือดาโต๊ะยุติธรรมได้ ดังนี้



  1. สามีออกจากบ้านเกิน 3 วัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา หากภรรยาฟ้องร้องต่อคณะกรรมการอิสลามก็จะต้องมีการพิจารณา และสามีต้องให้เงินค่าเลี้ยงดู

  2. สามีออกจากบ้านเกิน 6 เดือน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยาถือว่าหมดสภาพการเป็นสามีภรรยา
ขั้นตอนสุดท้ายมีการลงชื่อ โต๊ะอิหม่าม เจ้าบ่าว เจ้าสาว บิดาฝ่ายหญิง และพยาน ในหนังสือสำคัญเพื่อเป็น

หลักฐานการสมรส เป็นอันว่าเสร็จพิธีโดยสมบูรณ์ แล้วจึงจัดพิธีฉลองการสมรส เชิญแขกเหรื่อมาร่วมกันเลี้ยงในงาน “มาแกปูโละ” ภายหลัง ซึ่งอาจจะจัดหรือไม่จัดก็ได้






ppp





999





ฟังการเทศนา(คุตบะฮฺนิก๊ะฮฺ) หรือคำตักเตือนในศาสนอิสลามก่อนอยุ่ร่วมกัน







www.muslimchiangmai.net

มุสลิมเชียงใหม่ดอทเน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น