วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

:คุตบะฮฺและพิธีการทำนิก๊ะ มัสยิดอัต-ตักวาเชียงใหม่

บรรยายศาสนา:คุตบะฮฺและพิธีการทำนิก๊ะ โดย อ.มุฮัมหมัด บินต่วน-อ.อุมัร มาตระกูล





นน



นิกะห์เป็นพิธีแต่งงานของผู้ทีนับถือศาสนาอิสลาม เริ่มต้นเมื่อชายหญิงตกลงใจกันและฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอ การสู่ขอนี้จะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องมะฮัว (สินสอดทองหมั้น) และตกลงเรื่องกำหนดวันแต่งงาน (นิกะห์)



การทำพิธีนิกะห์ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ



  1. ผู้ปกครองของฝ่ายเจ้าสาว เรียกว่า วะลี คือชายที่มีสิทธิในการประกอบพิธีนิกะห์ให้แก่หญิง ซึ่งจะต้องเป็นชายที่นับถือศาสนาอิสลามที่ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์

  2. ผู้ทำพิธีนิกะห์ ผู้ปกครองอาจทำพิธีนิกะห์เอง หรือมอบให้โต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู ก็ได้

  3. เจ้าบ่าว

  4. พยาน 2 คน ต้องเป็นชายมุสลิมที่เชื่อถือได้

  5. ผู้อบรมหรืออ่านคุฎะฮ์นิกะห์

  6. มะฮัร คือสินสอดทองหมั้นที่จะมอบแก่เจ้าสาว


ขั้นตอนการทำพิธีนิกะห์



ถึงวันทำพิธีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเชิญโต๊ะอิหม่ามหรือโต๊ะครูเป็นประธาน และต้องมีองค์ประกอบให้ครบ 6

ประการ ตามหลักศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นด้วย การทำพิธีนิยมทำที่บ้านเจ้าสาว

เมื่อเจ้าบ่าวและผู้ใหญ่มาถึงบ้านเจ้าสาว บิดาของเจ้าสาวก็จะไปขอความยินยอมจากเจ้าสาว (ขณะนั้นเจ้าสาว

อยู่ในห้อง) โดยบิดาเจ้าสาวกล่าวว่า “ข้าจะแต่งงานเจ้ากับ…(ออกชื่อเจ้าบ่าว) เจ้าจะยินยอมหรือไม่” เจ้าสาวจะให้คำตอบ ถ้าไม่ยินยอมพิธีจะดำเนินไปไม่ได้ถือว่าผิดหลักศาสนา จากนั้นบิดาฝ่ายเจ้าสาวก็มอบภารกิจ (วอเก) การแต่งงานให้กับโต๊ะอิหม่าม โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านอิหม่ามทำพิธีแต่งงานลูกสาวข้าพเจ้าชื่อ…(ออกชื่อเจ้าสาว) กับ ….(ออกชื่อเจ้าบ่าว)” เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามก็จะตอบว่า “ข้าพเจ้าขอรับวอเก” แล้วเรียกเจ้าบ่าวเจ้าสาวและพยาน 2 คน พร้อมด้วยผู้จดบันทึกหลักฐาน



จากนั้นโต๊ะอิหม่าม หรือผู้ทำพิธีนิกะห์ จะสอนเจ้าบ่าวเจ้าสาวเกี่ยวกับการครองชีวิตคู่ ย้ำถึงเจ้าบ่าวเจ้าสาว

พยาน เงินสินสอด เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะจับมือเจ้าบ่าวพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้..(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ที่แต่งงานกับ…(ออกชื่อเจ้าสาว) โดยได้รับการมอบฉันทะจากบิดาฝ่ายหญิงแก่ข้าโดยมีค่าสินสอด..(บอกจำนวนสินสอด)” เมื่อโต๊ะอิหม่ามกล่าวจบแล้วเจ้าบ่าวจะกล่าวรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับการแต่งงานนี้ โดยมีสินสอดจำนวนดังกล่าวนี้” จากนั้นโต๊ะอิหม่ามจะอ่านดูอา เพื่อให้พระอัลลอฮ์ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาว เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็นสามีภรรยาแก่เจ้าบ่าวว่า ตามหลักศาสนานั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยา และอยู่รวมกันตามหน้าที่ของสามีภรรยา หากไม่เป็นเช่นนี้ผู้เป็นภรรยาก็มีสิทธิ์จะฟ้องร้องสามีต่อคณะกรรมการอิสลามหรือดาโต๊ะยุติธรรมได้ ดังนี้



  1. สามีออกจากบ้านเกิน 3 วัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา หากภรรยาฟ้องร้องต่อคณะกรรมการอิสลามก็จะต้องมีการพิจารณา และสามีต้องให้เงินค่าเลี้ยงดู

  2. สามีออกจากบ้านเกิน 6 เดือน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยาถือว่าหมดสภาพการเป็นสามีภรรยา
ขั้นตอนสุดท้ายมีการลงชื่อ โต๊ะอิหม่าม เจ้าบ่าว เจ้าสาว บิดาฝ่ายหญิง และพยาน ในหนังสือสำคัญเพื่อเป็น

หลักฐานการสมรส เป็นอันว่าเสร็จพิธีโดยสมบูรณ์ แล้วจึงจัดพิธีฉลองการสมรส เชิญแขกเหรื่อมาร่วมกันเลี้ยงในงาน “มาแกปูโละ” ภายหลัง ซึ่งอาจจะจัดหรือไม่จัดก็ได้






ppp





999





ฟังการเทศนา(คุตบะฮฺนิก๊ะฮฺ) หรือคำตักเตือนในศาสนอิสลามก่อนอยุ่ร่วมกัน







www.muslimchiangmai.net

มุสลิมเชียงใหม่ดอทเน็ต

ปฏิบัติตนอย่างไรในเดือนแห่งการอภัยโทษ?

ปฏิบัติตนอย่างไรในเดือนแห่งการอภัยโทษ? 



بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ในบรรดาหะดิษต่าง ๆ ที่ซอฮิห์จากท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น  มีสิ่งที่บรรดามุสลิมส่วนมากได้ทราบถึงข่าวดีอันยิ่งใหญ่   แต่พวกเขาไม่รู้ถึงความหมายอันลึกซึ้งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ต้องการจะบอกจากคำสอนของบรรดาหะดิษดังกล่าว  ดังนั้นพวกเขาจึงเข้าใจผิดต่อหะดิษเหล่านี้และแทนที่พวกเขาจะนำบรรดาหะดิษเหล่านี้ทำให้ร่องรอยแห่งความเสียหายและความผิดกลับกลายเป็นการดำรงมั่นในหนทางของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  แต่ทว่าในดำเนินชีวิตของพวกเขากลับปฏิบัติค้านกับคำสอนดังกล่าว

ส่วนหนึ่งจาหะดิษเหล่านั้น  คือหะดิษที่ได้รายงานบุคอรีและมุสลิม  จากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ความว่า  ท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

"ผู้ใดที่ดำรง(ละหมาด)ในเดือนรอมะดอนโดยมีความศรัทธา(ต่อสัญญาของอัลเลาะฮ์) และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของพระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว" 

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

"ผู้ใดถือศีลอดในเดือนร่อมาดอนโดยมีความศรัทธา(ต่อสัญญาของอัลเลาะฮ์)และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของพระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้วและผู้ใดดำรง(ละหมาด)ในคืนลัยละตุลก่อดัรโดยมีความศรัทธาและแสวงหาการตอบแทน  เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว"

และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า

مَنْ حَجَّ فَلَمْ يَرْفُثْ وَلَمْ يَفْسُقْ غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ 

"ผู้ใดทำฮัจญ์  แล้วเขาไม่พูดจาหยาบคายและไม่ประพฤติชั่ว  เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว" ติรมีซีย์( (816) ฮะดิษหะซันซอฮิห์

ผู้คนส่วนมากคิดว่าสองหะดิษขึ้นต้นคือสิ่งใหม่ที่เขาได้รับกลับคืนมา  โดยที่บางคนจากพวกเขาอาจจะมีบาปหนา  แต่เขาพบว่าการถือศีลอดในเดือนรอมะดอนนั้น  คือสิ่งที่ทำให้เขารอดพ้นจากบรรดาบาปทั้งหมด  และบางคนคิดว่าการมุ่งไปสู่บัยตุลลอฮ์เพื่อทำฮัจญ์นั้น  เขาจะได้กลับมาอย่างบริสุทธิ์เหมือนกับวันที่เขาคลอดออกมาจากครรภ์มารดา  บริสุทธิ์จากบาปทั้งหลาย   แต่เมื่อคราวต่อไปเขาได้พบว่าตนเองได้ก่อกรรมกระทำบรรดาบาปดังกล่าวนั้นอีก  เขาก็เฝ้ารอยาที่จะมาเยี่ยวยารักษา  คือเดือนรอมะดอนที่จะมาถึงหรือการประกอบพิธีฮัจญ์ที่บัยตุลลอฮ์  และเช่นดังกล่าวนี้เขาจึงมั่นใจว่าบรรดาบาปต่าง ๆ จะไม่ทำให้เขาถูกขวางกั้นจากอัลเลาะฮ์  เพราะเขาสามารถที่จะถือศีลอดในเดือนรอมะดอน  ซึ่งบรรดาบาปทั้งหมดจะมลายสิ้นไปโดยเขาจะกลับกลายเป็นคนที่สะอาดบริสุทธิ์จากบาปทั้งหลายอีกครั้ง

ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ในแง่ใดหรือที่เขามีความผิดพลาดในการเข้าใจหะดิษต่าง ๆ เหล่านี้ ?  ซึ่งความผิดพลาดนั้นก็คือ  เขาได้จินตนาการไปว่า  บรรดาการตออัตภักดีต่าง ๆ เช่นการถือศีลอด  การทำฮัจญ์ที่บัยตุลลอฮ์  และการปฏิบัติฟัรดูต่าง ๆ นั้น  คืออิบาดะฮ์ที่จะเปิดทางให้มนุษย์เดินไปสู่ความพึงพอใจต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  และยังเป็นสิ่งที่จะมาปิดกั้นระหว่างเขาและความโกรธกริ้วของพระองค์  ทั้งที่ความจริงแล้วมิใช่เป็นเช่นนั้น

เพราะความจริงแล้ว  บรรดาการฏออัตคือผลลัพธ์ที่ทำให้เขาไปถึงอัลเลาะฮ์ตาอาลา  และผลลัพธ์ที่ทำให้บ่าวไปถึงความพึงพอใจของอัลเลาะฮ์ตาอาลานั้น คืออีหม่านอันมั่นคงที่อยู่ในศักยภาพของตัวเขา  ซึ่งอัลเลาะฮ์ตาอาลาได้ทรงตรัสเกี่ยวกับถ้อยคำที่ดีงามไว้ความว่า

مَثَلاً كَلِمَةً طَيِّبَةً كَشَجَرَةٍ طَيِّبَةٍ أَصْلُها ثابِتٌ وَفَرْعُها فِي السَّماءِ، تُؤْتِي أُكُلَها كُلَّ حِينٍ بِإِذْنِ رَبِّها

"อุปมาถ้อยคำอันดีเยี่ยม (คือลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์) ประหนึ่งต้นไม้ที่ดีซึ่งโคนของมันมั่นคง (อยู่ในพื้นดิน) และกิ่งของมันชูขึ้นสูงสู่เบื้องฟากฟ้า (ซึ่งต้นไหม้นั้น) มันให้ผลบริโภคของมันได้อยู่ตลอดเวลา(ทุกฤดูกาล) ด้วยอนุมัติแห่งองค์อภิบาลของมัน" อิบรอฮีม : 25

ถ้อยคำอันดีเยี่ยมนี้ซึ่งอัลเลาะฮ์ได้เผยให้ตระหนักถึงอะกีดะฮ์หรืออีหม่านที่สมควรให้มั่นคงอยู่ในจิตใจของเขา  ซึ่งมันเป็นวิญญาณแห่งการฏออัตและมันเป็นเครื่องหมายที่อัลเลาะฮ์ตาอาลาจะทรงตอบรับการฏออัต  ดังนั้นหากเขามีถ้อยคำอันดีเยี่ยมนี้แล้ว  อะกีดะฮ์และการฏออัตก็จะได้ผลตอบ

เพราะฉะนั้น  หากบุคคลหนึ่งได้ทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา โดยอีหม่านและความยาเกนของเขาเต็มเปี่ยมอยู่ในห้วงหัวใจ  แน่แท้ว่าอัลเลาะฮ์จักทรงอภัยโทษให้แก่เขา "ผู้ใดที่กล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจเขาจะได้เข้าสวรรค์" อย่างไม่ต้องสงสัยอันใด  และขณะเดียวกันหากบุคคลหนึ่งในชีวิตของเขาเต็มไปด้วยการทำอิบาดะฮ์ฏออัตภักดี  ทำการถือศีลอด  ทำฮัจญ์  แต่ทว่าอะกีดะฮ์และอีหม่านของเขามีความสงสัยและความเบี่ยงเบนสอดแทรกเข้ามา  แน่นอนว่าบรรดาการฏออัตของเขาทั้งหมดนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อันใด  นี้คือข้อเท็จจริงที่เราควรรู้เอาไว

 ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย  เราลองหวนกลับมาพิจารณาคำพูดของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

 مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

"ผู้ใดที่ดำรง(ละหมาด)ในเดือนรอมะดอนโดยมีความศรัทธา(ต่อสัญญาของอัลเลาะฮ์) และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของพระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว" 

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

"ผู้ใดถือศีลอดในเดือนร่อมาฏอนโดยมีความศรัทธา(ต่อสัญญาของอัลเลาะฮ์)และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของพระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้วและผู้ใดดำรง(ละหมาด)ในคืนลัยละตุลก่อดัรโดยมีความศรัทธาและแสวงหาการตอบแทน  เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว"

ความหมายของคำกล่าวของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นี้คือ  ท่าน ณ เวลานี้ได้ทำการถือศีลอดซึ่งเป็นการฏออัตภักดีที่สามารถทำความสะอาดให้แก่ตัวของท่านซึ่งเปรียบเสมือนบ้านที่มีฝุ่นและดินทับถมอย่างแน่นหนา  และ ณ เวลานี้บ้านของท่านกลับเกลี้ยงสะอาด  แล้วอะไรหรือที่ท่านต้องกระทำอีก? ซึ่งสิ่งที่ท่านถูกใช้ให้กระทำอีกนั้นก็คือ ต้องคอยหมั่นดูแลรักษาบ้านของท่านหลังนี้  เพื่อไม่ให้ฝุ่นดินพัดผ่านเข้ามาอีกเป็นครั้งต่อไปจนเป็นเหตุให้ฝุ่นทับถมจนเป็นดินที่สกปรก  ดังนั้นสิ่งที่ท่านถูกใช้ให้กระทำต่อไปก็คือ  ให้ท่านปิดบรรดาหน้าต่างภายในบ้าน  คอยดูแลรักษาบ้านให้มีความสะอาดจากสิ่งสกปรก

แต่ถ้าหากว่าท่านมีความปีติยินดีที่บ้านของท่านมีความสะอาด  โดยฝุ่น  ดิน  และสิ่งสกปรกทั้งหมดได้หายไปแล้วและบ้านก็มีความสะอาดตา  แต่หลังจากนั้นท่านได้ละเลยต่อมัน  แน่นอนว่าไม่นานบ้านของท่านก็จะหวนกลับมาเป็นสภาพดังเดิม  ยิ่งกว่านั้น  อาจจะเลวร้ายกว่าจากสิ่งที่เคยเป็นอยู่เสียอีก  ทั้งที่อัลเลาะฮ์จักทรงประทานให้บัญชีบันทึกอะมัลของท่านขาวสะอาดหลังจากรอมะดอนจากไปแล้ว  ดังนั้นท่านสมควรจะปฏิบัติตนอย่างไร? นั่นก็คือให้ท่านหมั่นดูแลรักษาบัญชีบันทึกคุณงามความดีอันขาวสะอาดนี้ไม่ให้กลับมามืดดำเป็นครั้งที่สอง  แล้ววิธีดูแลรักษาจะทำอย่างไร? วิธีรักษาก็คือให้อะกีดะฮ์อีหม่านของท่านได้รับการบำรุงอย่าให้มีความคลางแคลงสงสัยเข้ามาครอบงำ  ซึ่งวิธีการบำรุงอีหม่านก็คือการกล่าวซิกรุลลอฮ์ให้มาก ๆ  การซิกรุลลอฮ์คือป้อมปราการที่จะมารักษาให้บัญชีบันทึกอะมัลของท่านมีความขาวสะอาดไม่กลับมามืดดำอีกต่อไป  ซึ่งบางครั้งท่านพี่น้องไม่ได้ตระหนักความหมายจากคำตรัสของอัลเลาะฮ์  ตาอาลา ความว่า

 وَلا تُطِعْ مَنْ أَغْفَلْنا قَلْبَهُ عَنْ ذِكْرِنا وَاتَّبَعَ هَواهُ وَكانَ أَمْرُهُ فُرُطاً

"และเจ้าอย่าเชื่อฟังผู้ที่ทำให้หัวใจของเขาลืมเลือนจากรำลึก(ซิกิร)ถึงเรา  และเขาได้หลงตามอารมณ์ชั่วของเขา  และการงานของเขานั้นเป็นสิ่งละเมิดโดยแท้" อัลกะฮฺฟิ 28

กล่าวคือ  บุคคลหนึ่งที่ลืมจากการซิกรุลลอฮ์(รำลึกถึงพระองค์) เขาก็จะตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา  และการงานของเขาหลังจากนั้นจะกลายเป็นการละเมิดนั่นเอง

หากมีคนบุคคลหนึ่งกล่าวว่า  ฉันนี้เป็นผู้ที่มีอีหม่านที่เข้มแข็งมั่นคงอยู่ในหัวใจ  ฉันไม่มีความสงสัยและครางแครงใด ๆ ต่ออีหม่านที่มีให้กับอัลเลาะฮ์  และฉันได้ชำระตนเองให้สะอาดจากบาปต่าง ๆ ด้วยการถือศีลอดเดือนรอมะดอนแล้ว  เพราะฉะนั้น  ฉันจึงมีความสบายใจ
  
แต่เราขอกล่าวแก่เขาผู้นั้นด้วยคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลา ความว่า

فَلا يَأْمَنُ مَكْرَ اللَّهِ إِلاّ الْقَوْمُ الْخاسِرُونَ

"ที่จริงแล้ว  ไม่มีผู้ใด (รู้สึก) รอดพ้นแผนการณ์ของอัลเลาะฮ์ไปได้เลย  นอกจากกลุ่มชนที่ขาดทุนเท่านั้น" อัลอะอฺรอฟ 99

อย่างไรหรือคือแผนการณ์ของอัลเลาะฮ์ ?  แผนการณ์ของอัลเลาะฮ์จะมาในตอนนี้กระนั้นหรือ?  ดังนั้นแผนการณ์ของอัลเลาะฮ์มิได้พิจารณาในช่วงเวลาขณะนี้  ซึ่งเป็นเวลาที่ท่านสุขสบาย  เป็นช่วงเวลาที่ท่านคิดว่ามีอีหม่านที่มั่นคง  เชื่อในความเอกภาพและความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์   เพราะฉะนั้นการพิจารณามิใช่ในช่วงเวลานี้  แต่แผนการณ์ของอัลเลาะฮ์เราจะวัดกันในขณะที่ท่านป่วยใกล้ตาย  ในขณะที่มะลาอิกะตุลเมาต์กำลังจะถอดวิญญาณ  ซึ่งช่วงเวลานั้นแหละ  จะมีการพิสูจน์ว่าอีหม่านของท่านยังมั่นคงอยู่หรือว่าสั่นคลอนไปเสียแล้ว

ดังนั้น  สิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด  พวกท่านทั้งหลายสมควรต้องตระหนักให้จงดี  อย่าเรียกร้องให้ชัยฏอนมาอธิบายคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ให้ขัดแย้งกับเป้าหมายที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องการ 

และเราก็ขอกล่าวปิดท้ายกับท่านทั้งหลายว่า  มนุษย์ที่อัลเลาะฮ์ทรงอภัยโทษบรรดาบาปทั้งหลายให้นั้น  เขาจะต้องพบว่าตนเองได้ตั้งใจมุ่งสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลาอยู่เสมอ  และเขาต้องพบว่าบรรดาสิ่งที่อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงห้ามนั้น ได้ถูกปิดจากตัวเขา  ดังนั้นหัวใจของเขาก็จะได้รับการเปิดสำหรับการมุ่งมั่นไปสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลา  โดยจิตใจของเขาจะไม่ทนทุกข์ต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำ  

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า  

فَمَنْ يُرِدِ اللَّهُ أَنْ يَهْدِيَهُ يَشْرَحْ صَدْرَهُ لِلإِسْلامِ وَمَنْ يُرِدْ أَنْ يُضِلَّهُ يَجْعَلْ صَدْرَهُ ضَيِّقاً حَرَجاً كَأَنَّما يَصَّعَّدُ فِي السَّماءِ

"ดังนั้นผู้ใดที่อัลเลาะฮ์ทรงปรารถนาที่จะชี้นำเขา  แน่นอนพระองค์จะทรงเปิดจิตใจของเขาเพื่ออิสลาม  และผู้ใดที่พระองค์ทรงปรารถนาที่จะยังความหลงผิดแก่เขา  พระองค์ก็จะทรงบันดาลให้จิตใจของเขาคับแคบ  อีกทั้งตีบตันประดุจเขากำลังขึ้นไปในฟากฟ้า" อัลอันอาม 125

ดังนั้น  บุคคลหนึ่งจะต้องไม่กล่าวว่า  ฉันคือผู้ที่ได้ทำการถือศีลอดรอมะดอนแล้ว  ฉะนั้นฉันก็จะไม่กลับไปสู่ที่ฉันเคยเป็นอีกแล้ว  ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้  เป็นหลักฐานยืนยันว่า  เขาไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมะดอนโดยมีอีหม่านและแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์  

أقول قولي هذا وأستغفر الله العظيم لى ولكم


โดย 

al-azhary



بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ความตายสัจจะธรรมที่ถูกลืม

ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวย  เป็นคนอยากจน  เป็นกรรมกร  เป็นข้าราชการ  มีต่ำแหน่งการงานสูง ๆ  เป็นคนเดินดินหรือนั่งรถสวยหรู  ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นย่อมมีจุดจบเดียวกัน  นั่นก็คือ  ความตาย!

ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ในวันนี้กระผมจะพูดกับท่านเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง  ซึ่งผู้คนส่วนมากจะเกิดความเบื่อหน่ายและไม่ชอบสดับรับฟัง  นั่นก็คือเรื่องความตาย  ซึ่งการรำลึกถึงความตายที่พร้อมกับรู้ถึงแก่นแท้ของมันนั้นสามารถตัดเขี้ยวเล็บแห่งความอธรรมและการฝ่าฝืนได้  การรำลึกถึงความตายพร้อมกับรู้ถึงแก่นแท้ของมันนั้นสามารถขจัดความเสียหายประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม  การรำลึกถึงความตายพร้อมกับรู้ถึงแก่นแท้ของมันนั้นสามารถขัดเกลาจรรยามารยาทของเราได้  และการรำลึกถึงความตายพร้อมกับรู้ถึงแก่นแท้ของมันนั้นสามารถทำให้สังคมประดับประดาไปด้วยผู้คนที่มีพฤติกรรมที่ดีงาม

เหตุใดต้องรำลึกถึงความตายก่อนการมีชีวิต?
ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การรำลึกถึงความตายนั้น  คือสิ่งที่มาเป็นเกราะป้องกันเพื่อทำให้ท่านสามารถเดินทางได้อย่างมั่นคงโดยไม่พลาดตกลงไปในความผิดและความเสียหาย  และการรำลึกถึงความตายนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถกำหนดเส้นทางก่อนที่จะเริ่มเดินทางแห่งชีวิตได้

ดังนั้น  อัลเลาะฮ์ทรงเน้นความตายอยู่ก่อนความมีชีวิตก็ด้วยสาเหตุนี้  ทั้งที่เราทั้งเราทราบดีว่าเวลาที่จะตายนั้นต้องอยู่ลำดับหลังจากการมีชีวิตเสียก่อน
    
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

تَبارَكَ الَّذِي بِيَدِهِ الْمُلْكُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ، الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَياةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلاً وَهُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُورُ

?องค์พระผู้ซึ่งอำนาจการปกครองอยู่ในกรรมสิทธิ์ของพระองค์  ทรงเกียรติเลิศเลอยิ่ง  และพระองค์ทรงอานุภาพเหนือทุก ๆ สิ่ง  พระผู้ทรงบันดาลความตายและความมีชีวิต เพื่อทดสอบพวกเจ้าว่า  ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าบ้างที่มีผลงานอันดีงาม  และพระองค์ทรงอำนาจยิ่ง  ทรงให้อภัยยิ่ง? อัลมุลกิ : 1-2

ดังนั้น  อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ให้เราตระหนักว่า  ความตายนั้นแม้นว่าจะมาหลังจากการมีชีวิตอยู่ก็จริง  แต่มันเป็นเกราะที่มาป้องกันให้มนุษย์มีวิถีชีวิตอย่างปลอดภัย  เพราะฉะนั้น  พระองค์จึงทรงกล่าวความตายก่อนการมีชีวิตอยู่  เพื่อชี้ให้เห็นว่า  เราจำเป็นต้องรำลึกถึงความตายก่อนการดำเนินชีวิตในโลกดุนยา  และให้ท่านดำเนินชีวิตเหมือนกับท่านใกล้จะถึงเวลาตายนั่งเอง

ความตายนั้นคือเหตุร้ายหรือไม่?
ความจริงแล้วมิใช่เป็นเช่นนั้น  แม้อัลเลาะฮ์ทรงพรรณนาว่าความตายคือเหตุร้าย ดังคำตรัสของพระองค์ความว่า 

فَأَصابَتْكُمْ مُصِيبَةُ الْمَوْتِ

?ดังนั้นเหตุร้ายของความตายได้มาประสบแก่พวกเจ้า? อัลมาอิดะฮ์ :109

ดังนั้น เหตุร้ายที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงกล่าวพรรณนาไว้นั้น  ไม่ใช่เป็นเหตุร้ายของผู้ที่กำลังจะจากโลกนี้ไป  แต่ทว่ามันเป็นเหตุร้ายสำหรับคนรักและวงศาคณาญาติทั้งที่พวกเขาจะมีความโศกเศร้าและมีความเจ็บปวดเมื่อต้องมีการพลัดพราก  ซึ่งเหตุร้ายนี้ก็คือเหตุร้ายของการพลักพราก  ดังนั้นเหตุร้ายนี้จะตกอยู่บนผู้ใดหรือ? ย่อมไม่ใช่ผู้ที่จากไป  แต่ตกอยู่บนผู้มีชีวิตอยู่ซึ่งผู้เป็นที่รักได้จากพวกเขาไป  สำหรับผู้ตายนั้น  หากเขาอยู่ในความตายที่น่าปิติยินดี  เขาก็จะได้รับความสุขตามที่ได้รับสัญญาเอาไว้  และหากเขาอยู่ในความหมายของความตายที่อยู่ในเหตุร้าย  เขาก็จะได้ประสบกับมันตามที่สัญญาไว้

ดังนั้น  คนที่มีชีวิตสามารถที่จะวาดหวังความตายให้อยู่ในความหมายของเหตุร้ายได้ถ้าหากเขาต้องการ  หรือเขาสามารถวาดความตายให้เป็นความปิติยินดีก็ได้ ถ้าหากเขาต้องการเช่นนั้น   เพราะฉะนั้นผู้ที่มีชีวิตอยู่ในขณะนี้  จึงมีโอกาสแล้ว! ที่ จะสามารถวาดหวังความตายของเขาให้เป็นอย่างไรก็ได้ตามที่เขาต้องการ

ฉะนั้น   หากท่านต้องการที่จะวาดหวังความตายให้เป็นความปิติยินดี  ท่านก็จงประพฤติดี  หมั่นรำลึกถึงอัลเลาะฮ์  ละหมาดให้ครบห้าเวลา  ถือศีลอดในเดือนรอมะฏอน   ปฏิบัติตามสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติใช้และละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติห้าม  แต่หากท่านต้องการที่จะวาดหวังให้ความตายเป็นเหตุร้าย  ก็นึกแต่เรื่องดุนยา  ละทิ้งละหมาด   ไม่ถือศีลอด   สร้างความเดือนร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น  เนรคุณพ่อแม่  ปฏิบัติสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงห้าม   แล้วท่านจะได้รับตามสิ่งที่ได้วาดหวังเอาไว้

นี้คือข้อเท็จจริง  โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย   วันหนึ่งสุไลมาน บุตร อับดุลมาลิก  หนึ่งในคอลิฟะฮ์บนีอุมัยยะฮ์  ได้ไปเยี่ยมท่านอบูหาซิม أبو حازم ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ   สุไลมานได้เข้าไปนั่งใกล้ท่านอบูหะซิมเหมือนกับศิษย์นั่งใกล้ ๆ ครู   แล้วเขากล่าวว่า  โอ้ อบู หาซิม   อะไรหรือที่ทำให้เรารังเกียจความตาย?  อบูหาซิมกล่าวว่า  เพราะพวกท่านทำนุบำรุงโลกดุนยาของพวกท่าน และในขณะเดียวกันพวกท่านได้ทำลายอาคิเราะฮ์ของพวกท่าน  ดังนั้น  พวกท่านก็จะรังเกียจที่จะย้ายจากที่พำนักอันจำเริญไปสู่ที่พำนักอันเสื่อมโทรม  สุไลมานกล่าวถามว่า   แล้วเราจะไปหาอัลเลาะฮ์ในสภาพอย่างไรหรือ?  ท่านอบูหาซิม กล่าวว่า  สำหรับผู้ที่ประพฤติดี  เขาย่อมเสมือนกับผู้เคยอยู่ห่างไกลที่กำลังเดินทางไปหาครอบครัว  สำหรับผู้ที่ประพฤติชั่วนั้น  เขาเหมือนกับทาสที่หนีนายซึ่งถูกลากให้ไปพบกับนายของเขา

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย!  มีความจำเป็นหรือไม่ที่เราต้องพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้คนทั้งหลายปิดกั้นตนเองที่จะให้ความสนใจมัน  เราพูดเพื่อที่จะให้เราพากเพียรทุ่มเททุกวิถีทางเพื่อให้เรากลายเป็นคนดี  หลังจากนั้น  เมื่อเราได้กลับไปสู่ผู้อภิบาลของเราในวันพรุ่งนี้  การกลับไปของเราสู่พระองค์นั้นก็เสมือนกับผู้ที่เคยอยู่ห่างไกลซึ่งกำลังกลับไปหาครอบครัวของเขาหรือไม่?  และเราไม่จำเป็นต้องรำลึกถึงความตายกระนั้นหรือ? เพื่อจะไม่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ประพฤติชั่วและเพื่อไม่ให้เป็นเฉกเช่นทาสที่หนีนายซึ่งกำลังถูกลากตัวไปพบกับนายของเขาเพื่อรอคอยการลงทัณฑ์   

ด้วยเหตุนี้แหละที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   ได้กล่าวว่า  ?ผู้ใดรักที่จะได้พบกับอัลเลาะฮ์  พระองค์ก็จะทรงรักที่จะพบกับเขา  และผู้ใดรังเกียจที่จะได้พบกับอัลเลาะฮ์  พระองค์ก็จะทรงรักเกียจที่จะพบกับเขา?

หะดิษนี้คือความหมายของคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ได้กล่าวถามท่านว่า  ?มันคือความตายกระนั้นหรือ โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์?  ดังนั้น พวกเราทุกคนจึงรังเกียจความตาย? ท่านร่อซูลลุลเลาะฮ์ กล่าวว่า ?ไม่ใช่เช่นนั้นหรอก  แต่ทว่าผู้ศรัทธานั้น  เมื่อความตายย่างใกล้มาถึง  เขาจะได้รับข่าวดีด้วยความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮ์และสรวงสวรรค์ของพระองค์  ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดจะเป็นที่รักยิ่งไปยังเขามากไปกว่าความตายแล้วได้พบกับอัลเลาะฮ์  และเมื่อคนกาเฟรได้ถึงความตาย เขาจะถูกแจ้งข่าวดีด้วยกับความพิโรธของอัลเลาะฮ์  ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เขาทุกข์ใจยิ่งไปกว่าการได้พบกับอัลเลาะฮ์ตาอาลา?

  ดังนั้น  บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย!  พวกท่านจงตระเตรียมเสบียงไว้ก่อนตายเถิด  ด้วยการรีบทำความดีก่อนที่ความตายจะมาเยือน  ละหมาดห้าเวลาท่านปฏิบัติครบแล้วหรือยัง?  ซึ่งถ้าหากยังไม่ครบท่านจงกอฏอชดใช้เถิด  ถึงหากแม้นว่าท่านเคยขาดละหมาดมากมายจนไม่สามารถคณานับได้ก็ตาม   เพราะหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้วนั้น  ท่านก็จะไม่สามารถอุทรห์ขอแก้ตัวได้อีกแล้ว  และการที่อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงให้เรามีชีวิตอยู่ในขณะนี้นั้น  เพราะพระองค์ทรงเปิดโอกาสให้เราทำเตาบะฮ์แก้ไขปรับปรุงตัวเองในการทำความดีต่อพระองค์  เพื่อเตรียมพร้อมที่จะไปพบกับอัลเลาะฮ์ตาอาลา  

มีคำถามหนึ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตัวของเราเป็นคนดีหรือเป็นคนไม่ดีกันแน่?  กล่าวคือ  หากมีคนหนึ่งถามท่านว่า ?ถ้าอัลเลาะฮ์ให้ท่านตายในขณะนี้ท่านพร้อมใหม??  ดังนั้น  หากท่านพร้อมที่จะตายในขณะนี้  ท่านย่อมเป็นคนดีที่ต้องการไปพบกับอัลเลาะฮ์ตาอาลา  แต่ถ้าหากท่านรู้สึกยังไม่พร้อม แสดงว่าท่านยังเป็นคนไม่ดีและยังไม่ต้องการที่จะไปพบกับอัลเลาะฮ์ตาอาลา   เพราะฉะนั้น  ท่านจงเป็นเสมือนกับผู้ที่เคยอยู่ห่างไกลที่กำลังเดินทางไปพบครอบครัวเถิด  อย่าเป็นเหมือนทาสที่หนีนายซึ่งกำลังถูกลากตัวกลับหานายเพื่อรอการลงทัณฑ์เลย

قُلْ إِنَّ الْمَوْتَ الَّذِي تَفِرُّونَ مِنْهُ فَإِنَّهُ مُلاقِيكُمْ

"จงประกาศเถิดว่า แท้จริงความตายที่พวกท่านกำลังหลบหนีจากมันนั้น  มันจะประสบกับพวกท่านอย่างแน่นอน" อัลญุมุอะฮ์ : 8

أقول قولى هذا وأستغفر الله لي ولكم


คัดลอกจาก
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,1147.0.html

คุตบฮฺ:เลี้ยงลูกอย่างไรในดุนยา



พี่น้องผู้ศรัทธาที่เคารพ
 อัลลอฮฺ سبحانه وتعالى   ทรงเปิดเผยความจริงไว้ในอัลกุรฺอานว่า
زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ الشَّهَوَاتِ مِنَ النِّسَاءِ وَالْبَنِيْنَ
وَالْقَنَاطِيْرِ الْمُقَنْطَرَةِ مِنَ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ وَالْخَيْلِ الْمُسَوَّمَةِ
وَالأَنْعَامِ وَالْحَرْثِ ذَلِكَ مَتَاعُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَاللهُ عِنْدَهُ خُسْنُ الْمَآبِ
ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 3:14
ได้ถูกทำให้สวยงาม(ลุ่มหลง)แก่มนุษย์ ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์อันได้แก่
ผู้หญิงและลูกชาย, ทองและเงินอันมากมาย และม้าดี และปศุสัตว์และไร่นา
นั่นเป็นสิ่งำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น
และอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์ คือที่กลับอันสวยงาม
     การฝากฝังใจให้รักและหลงใหลในดุนยา เป็นส่วนหนึ่ง และการใกล้ชิดอัลลอฮฺเป็นอีกส่วนหนึ่ง จากส่วนที่ระบุไว้ในอายะฮฺนี้
แต่อัลลอฮฺ سبحانه وتعالى ทรงบอกว่า การใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด
ดังนั้น เมื่อใครก็ตาม มองเห็นว่าทรัพย์สิน ลูกหลาน เป็นสิ่งที่น่าหวงแหน และน่าห่วงใยมากที่สุดก็แปลได้ว่า เขายังขาดความศรัทธา
ในอายะฮฺนี้ และยังเป็นผู้ที่ยืนอยู่บนความหลงผิด เพราะมีความรู้สึกภายในจิตใจคัดค้านต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺ  سبحانه وتعالى 
นอกจากเขาจะรักอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى และรอซู้ลเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดจึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง
แต่นี่เป็นเพียงการแนะนำเท่านั้น คำพูดและคำแนะนำนี้ทำให้เกิดการได้ยินเท่านั้น แต่ยังไม่ทำให้เกิดการศรัทธาตามนี้ได้
และไม่มีใครช่วยให้ผู้ใดเกิดศรัทธาเช่นนี้ได้ นอกจากอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى เท่านั้น
     ยังมีอีกบางคนที่มีลูกหลานแล้วปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจที่จะสั่งสอนอบรม ไม่รับผิดชอบที่จะส่งเสียให้ร่ำเรียน
แล้วพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองว่า นี่คือหนทางของผู้ที่รักในอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى   มากกว่าลูกหลานและทรัพย์สิน
นี่เป็นการหลงผิดอีกประเภทหนึ่ง เพราะอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى ได้สั่งเสียไว้ว่า ให้รักษาตนเองและผู้อยู่ภายใต้
การอุปการะของตนให้พ้นจากไฟนรก ผู้ที่ไม่รับผิดชอบต่อคำสั่งนี้ เป็นผู้ที่ไม่ปรารถนาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺسبحانه وتعالى 
อยู่แล้ว ตนเองคิดขึ้นมาเพื่อปลอบใจตนเองเท่านั้น หาได้เป็นหนทางตรงที่อัลลอฮسبحانه وتعالى ได้ทรงกำหนดไว้ไม่
ดังนั้น ผู้ที่ใฝ่ใจในดุนยาเกินไป และผู้ที่ไม่ใฝ่ใจรับผิดชอบต่อกิจการในดุนยาเลย จึงเป็นผู้ที่หลงผิดทั้งสองกรณี
นี่ไม่ได้หมายความว่า เป็นผู้ที่จงใจฝ่าฝืนเสมอไป แต่หมายถึงคนที่หลงผิด ก็มีความผิดเช่นกัน เพราะไม่ใส่ใจว่า สิ่งใดถูกหรือผิด
การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามแสงสว่างแห่งสัจจะธรรม เป็นสิ่งจำเป็นเหนือบุคคลทุกคนอยู่แล้ว แต่เพียงการศึกษา
เท่านั้นก็ยังไม่ใช่สิ่งพอเพียงที่จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ จึงไม่เกิดเป็นความศรัทธา คือมิได้รักอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى 
เหนือสิ่งอื่นใด หลังจากศึกษาแล้วจะต้องมีพฤติกรรมและความคิดเปลี่ยนไปสู่แนวทางที่ถูกต้องจึงจะเรียกว่าเป็นการศึกษา แต่การศึกษาผิด ๆ
จากครูที่ไม่รู้จริงก็เป็นอันตรายต่อความพยายามและเวลาที่เสียไป เพราะไม่ก่อให้เกิดความศรัทธาดังกล่าว แต่บางทีเรียนมาถูกต้อง
แต่มิได้พยายามประพฤติตามสิ่งที่เรียนมา จึงก่อให้เกิดความศรัทธาที่ผิดเพี้ยนไปได้ ดังนั้น อัลลอฮฺ سبحانه وتعالى จึงได้
เปิดทางให้มุสลิมทุกคนติดต่อกับพระองค์ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านพระหรือนักบวชเหมือนศาสนาอื่น
     ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้ปรับความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องกับเจตนาอันแท้จริงของอัลลอฮฺسبحانه وتعالى นั่นเอง
ดังนั้น ผู้ใดก็ตาม ที่มิได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างระมัดระวังด้วยความตั้งใจจริง จึงถือได้ว่า เป็นผู้ไม่สนใจที่จะอยู่บนหนทางที่ถูกต้อง
และไม่สนใจในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ سبحانه وتعالى   เพื่อเขาจะได้มีความเข้าใจและมีความศรัทธา
ที่ตรงเป้าหมาย  การปฏิบัติศาสนกิจด้วยบริสุทธิ์ใจจะทำให้หลุดพ้นจากความผิดได้ ดังรายงานจากอบู วาอิล จากฮุซัยฟะฮฺ ที่รายงานว่า
 ท่านอุมัรฺได้ถามมวลชนว่า "มีใครบ้างไหมที่สามารถจดจำคำพูดของท่านศาสดามุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم
ที่เกี่ยวกับเรื่องฟิตนะฮฺ(การล่อลวงจิตใจ)" ฮุซัยฟะฮฺจึงตอบว่า ฉันได้ยินท่านศาสดาเคยกล่าวว่า "การหลงผิดของบุคคล
จากการถูกล่อใจจากสมบัติ จากครอบครัว และจากเพื่อนบ้าน สามารถวัดได้ด้วยการละหมาด การถือศีลอด และการให้ทาน" (ซอฮีหฺ บุคอรี)
     นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดว่า การโลภหลงในดุนยาจะเป็นเครื่องมือทำให้หลงลืมอัลลอฮฺسبحانه وتعالى 
เพราะมัวแต่คิดว่านอนหลับสบาย เพราะมีเครื่องนอนที่นุ่มนวล ไปมาสะดวกเพราะมียายพาหนะ มีเกียรติยศ
เพราะมีทองมีเพชรนั้น มุมินจะต้องรู้ด้วยศรัทธาและจิตวิญญาณว่า สบาย สะดวก ศักดิ์ศรี มีได้เพราะอัลลอฮฺسبحانه وتعالى อนุมัติ
และมีไม่ได้เพราะอัลลอฮฺسبحانه وتعالى ไม่ประสงค์ให้มี และอัลลอฮฺسبحانه وتعالى จะให้กับใครก็ได้
ไม่ให้ใครก็ได้ นี่เป็นเรื่องจำเป็น แต่เป็นเรื่องยากที่จะศรัทธาเช่นนั้น และรู้ได้ว่ามีศรัทธานี้แล้วหรือยัง
ต้องทำให้เครื่องเพชรเหล่านั้นหายไปจากจิตใจเสียก่อน โดยให้คิดว่าเครื่องเพชรที่มีอยู่นั้น มีไว้เพื่อใช้ตามความเหมาะสม
ไม่ได้มีไว้เพื่อครอบงำจิตใจของเราให้ลุ่มหลงไปกับมัน ถ้ารู้สึกว่าด้อยกว่าคนอื่นก็ขอให้รู้เถิดว่า ศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺسبحانه وتعالى 
นั้นมันน้อยกว่าที่มีต่อเครื่องเพชรเป็นไหน ๆ เช่นเดียวกัน เมื่อเราเห็นคนอื่นได้ดี แล้วเรารู้สึกไม่สบายใจ หรือรู้สึกริษยา ก็ขอให้รู้เถิดว่า
เรามิได้ศรัทธาเลยว่า อัลลอฮฺسبحانه وتعالى จะประสงค์ให้ผู้ใดก็ได้ ไม่ประสงค์จะให้ผู้ใดก็ได้ การคิดทบทวนอย่างนี้ทุกวัน
ก่อนที่จะตายจากโลกนี้ จะช่วยให้ประสบชัยชนะในวันอาคิเราะฮฺได้(อินชาอัลลอฮฺ) แต่คิดอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการฝึกฝนด้วย
เรารู้ว่า การขัดขืนบัญญัติของอัลลอฮسبحانه وتعالى   เป็นเรื่องของอารมณ์ริษยา โลภหลง ความอยาก ความกระหาย ล้วนเป็นอารมณ์
ผู้ที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องชนะอารมณ์ได้ ดังนั้น อัลลอฮฺسبحانه وتعالى จึงได้ประทานแบบฝึกหัดมาเพื่อให้เราฝึกชนะอารมณ์ของเราเอง
ด้วยการละหมาด ถือบวชและให้ทาน เหตุนี้ อิบาดะฮฺ จึงเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ชัยชนะในวันอาคิเราะฮฺนั่นเอง ให้มั่นใจว่า
ระงับอารมณ์ได้ในทุก ๆ เรื่องก่อนที่จะจากโลกนี้ไป

(พิมพ์ตามบทความในเอกสารที่ได้รับแจกโดยไม่ได้ดัดแปลงแก้ไข โดย Bangmud)

คุตบะฮฺ:การบริจาคทรัพย์และการยุแหย่

การบริจาคทรัพย์และการยุแหย่



   ท่านพี่น้องผู้เคารพทั้งหลาย จงเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้มาก ท่านจงกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และจงละทิ้งในสิ่งที่พระองค์ทงห้าม ท่านก็จะได้รับสันติสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
   พระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานความเป็นอยู่บนโลกนี้ ให้มีแต่ความสุขสำราญชื่นบาน ชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น เมื่อวาระสุดท้ายของโลกดุนยาได้เวียนมาถึง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะต้องสูญสิ้นไป มันไม่สามารถที่จะคงอยู่ถาวรได้ ทั้งนี้ด้วยเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง ซึ่งปรากฏอยู่ในรุก่นอีหม่านอยู่แล้ว

   ดุนยาเป็นเพียงถิ่นแห่งความโลภหลง ความทะเยอทะยาน ถิ่นแห่งความลืมพระผู้บังเกิด มันจึงไม่สามารถจะอยู่อย่างถาวรได้ ตัวของพวกเราก็เช่นเดียวกัน วันหนึ่งเราก็จะต้องก้าวไปสู่ความตาย ดังที่อัล-กุรอ่านได้กล่าวว่า



   “แท้จริงเราเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)และเราก็ต้องกลับคืนไปสู่พระองค์” ( 2:156 )

   ความตายนั้นเป็นการสิ้นสุดแห่งความเป็นมนุษย์ มันกำลังคืบคลานมาหาตัวเราทุกวัน ทุกชั่วโมง ฉะนั้นเพียงชั่วที่พระองค์ให้พวกเราเกิดมาเป็นมนุษย์โลก ก็เป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราจะกอบโกยทำอามัลอิบาดะห์ และวากัฟทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งผลบุญนั้นเหลือที่จะพิสูจน์ได้ ดังอัล-กุรอ่านได้กล่าวไว้ว่า



   “ข้อเปรียบเทียบของบรรดาผู้บริจาคสมบัติของเขาทั้งหลายในวืถีทางของอัลลอฮฺนั้น เหมือนกับเมล็ดหนึ่งของพืชซึ่งงอกออกมาเจ็ดรวง ในทุก ๆ รวงหนึ่งมีร้อยเมล็ด และอัลลอฮฺทรงทวีแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้” (2:261)

   ท่านพี่น้องทั้งหลาย ทรัพย์สินเงินทองที่จะคุณประโยชน์เราได้ในวันอาคีเราะห์นั้นก็คือ ทรัพย์ซึ่งเราได้สละทำมัสยิด หรือสละทรัพย์สินที่จะวากัฟต่าง ๆ เพราะทรัพย์สินเหล่านั้นจะมีผลไปถึงวันอาคีเราะห์ คือวันแห่งการตัดสิน ทรัพย์สินเหล่านี้จะทำให้ตาชั่ง ในจานตาชั่งความดีหนักกว่าความชั่ว เมื่อความดีหนักกว่าความชั่วแล้ว แน่นอนเราต้องได้สวรรค์เป็นการตอบแทน
   ท่านพี่น้องทั้งหลาย ทรัพย์สินเงินทองที่เรามีอยู่นั้น หาได้ติดตามเราไปในโลกอาคีเราะห์ไม่ สิ่งที่ตอบแทนเราได้ก็คือความดีหรือกุศลผลบุญที่เราได้ปฏิบัติ ตามคำบัญชาของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเจริญรอยตามซุนนะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺเท่านั้น ที่จะเป็นทรัพย์ไมสูญสิ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเกษมสุขสำราญชั่วนิรันดร์ ดังอัลกุร-อ่านได้กล่าวไว้ว่า

 


   “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบการดีทั้งหลาย สำหรับเขาทั้งหลายคือสวนสวรรค์ฟิรเดาว์ส เป็นการต้อนรับ” (18:107)

   กรณียกิจที่เราจะต้องปฏิบัติขณะอยู่ในโลกนี้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ คือการสามัคคีช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มนุษย์เราที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ก็ต้องต่อสู้และค้องอยู่ในสังคมที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่อยู่ร่วมในหมู่บ้านเยวกัน ก็ต้องพบปะกัน สนทนากันอยู่เสมอ และก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง ที่ไม่สามารถจะถูกใจกันได้เสมอทุกคน
   ดังนั้น มนุษย์อาจมีการแตกแยกกัน ตั้งหมู่ตั้งคณะกัน แบ่งพรรคแบ่งพวกซึ่งกันและกัน จะหาความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างถาวรตลอดไปไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ก็ตาม พวกเราจะต้องพยายามยึดเหนี่ยวความสามัคคีไว้ให้ถาวร อย่าได้แตกแยกกันไปตั้งหมู่ตั้งคณะ เพราะท่านศาสดาได้กล่าวเตือนไว้ว่า “การมีความสามัคคีกันนั้น เป็นกำลังอันมหึมา ซึ่งสามารถที่จะกระทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จได้อย่างฉับพลัน”
   ท่านพี่น้องที่เคารพรักทั้งหลาย ก็ทราบดีแล้วว่าการยุแหย่เป็นสิ่งที่ทำให้แตกความสามัคคี เป็นสิ่งที่ทำลายเรื่องต่าง ๆ ให้ล้มเหลวลง ทั้ง ๆ ที่เรื่องนั้น ๆ ส่วนมากเป็นเรื่องที่ลงมติเห็นดีกันแล้วทุกคน
   ฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังสร้างอยู่นี้ จะสำเร็จเรียบร้อยไปได้ก็ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่พึ่ง และต้องปราศจากการยุแหย่ว่ากล่าวสอดเสียดซึ่งกันและกันเท่านั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความสามัคคีซึ่งแนบสนิทกับพวกเรานี้ ต้องถาวรตลอดชั่วนิรันดร์
   การยุแหย่นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับโทษอย่างมหันต์ และการยุแหย่นี้เอง เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะทำลายความสามัคคีให้ดับสูญไป การยุแหย่คืออะไร  การยุแหย่คือการทำลายความสัมพันธ์ความรัก การสนิทสนมระหว่างพี่น้องเพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านให้จางหายไป บรรดาผู้ที่ชอบยุแหย่นี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ตรัสว่า




   “ความวิบัติจงมีแก่ผู้นินทาและผู้ปรักปรำ” (104:1) 


   “และผู้ใดขวนขวายความผิดหรือการบาป แล้วใส่ความผู้บริสุทธิ์โดยนัยนั้น ดังนั้น แน่นอนเขาได้แบกการใส่ร้ายและบาปอันชัดแจ้ง” (4:112)

   การที่เราพูดสิ่งใดไป ควรที่จะพิจารณาไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน หามิเช่นนั้นแล้ว อาจจะเป็นผลประโยชน์แก่ผู้อื่น ในการที่ทับถมเสียดสีผู้อื่น ถึงแม้เราจะได้พิจารณาแล้วว่า คำพูดของเรานั้นดี การพูดดีนั้นแม้จะไม่เคยคิดถึงผลบุญอันพึงได้ แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงประทานให้อย่างครบถ้วน และการพูดร้ายก็เช่นเดียวกัน แม้จะไม่เคยคิดถึงผลอันพึงได้รับจากคำพูด แต่ผู้พูดก็ต้องได้รับโทษจากคำพูดนั้น
   ดังนั้นท่านที่รักทั้งหลาย เมื่อเราจะพูดอะไรออกไป เราก็สมควรที่จะพูดในสิ่งที่ดี ทางที่จะเสริมคุณประโยชน์แก่ส่วนรวม หากมิเช่นนั้นแล้วก็จงสงบเสีย เพราะท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า
   “การสงบนิ่งเป็นเครื่องประดับสำหรับนักธรรม และเป็นสิ่งปิดกลั้นสำหรับผู้โฉดเขลา”





คัดลอกจาก “สื่อมะเซาะ” หนังสือแจกเป็นที่ระลึก งานมะเซาะรำลึก 53 โดย Bangmud เมื่อ 22 กุมภาพันธ 2553
credit  http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,5693.0.html

อย่าตาย จนกว่า ท่านจะเป็นมุสลิม

ตายให้สมกับความเป็นมุสลิม

ตายให้สมกับความเป็นมุสลิม

        พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติความดีและละเว้นความชั่วอย่างจริงจัง และท่านทั้งหลายจงอย่าได้ตาย จนกว่าท่านจะเป็นผู้ยอมจำนนต่ออัลอิสลามโดยสิ้นเชิง
   ชีวิตของมนุษย์นั้นไม่มีใครบอกได้ว่าจะต้องตายจากโลกนี้ไปเมื่อใด บางคนอายุยืนเกิน 100 ปี บางคนเพิ่งเกิดก็ตายเสียแล้ว บางคนอยู่มาจนโต ไม่เจ็บไม่ไข้ ถูกรถชนตาย ทั้งนี้ขึ้นกับกฎสภาวการณ์ของอัลลอฮฺ พระองค์ดำรัสว่า





   “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “ฉันไม่มีอำนาจที่จะให้โทษและให้คุณแก่ตัวฉัน เว้นแต่ที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ สำหรับทุกประชาชาติย่อมมีเวลากำหนด เมื่อเวลาของพวกเขามาถึง พวกเขาจะขอผ่อนผันให้ล่าช้าซักระยะหนึ่งไม่ได้ และจะร่นเวลาให้เร็วเข้าก็ไม่ได้”           
ยูนุส 10 : 49
   ใครที่ไหนก็บอกไม่ได้ว่าใครจะตายเมื่อไร ตายอย่างไร อยู่ในลิเบียตอนนี้ นอนอยู่กับบ้าน อาจโดนแรงระเบิดจากโทมาฮอค ของผู้ก่อการร้ายอเมริกา ตายได้ เกิดเป็นชาวไครท์เชิร์ช หรือ ชาวมิยางิ หรือ เมืองอื่น ๆ ที่อยู่บนแนวเปลือกโลกที่ไม่มั่นคง ก็อาจเสียชีวิตจากผลกระทบของแผ่นดินไหว หรืออยู่ห่างไกลออกไปจากจุดแผ่นดินไหวก็อาจถูกคลื่นสึนามิกวาดลงทะเลไปก็ได้ อยู่ในเมืองหลวงของประเทศในตะวันออกกลางหรืออาฟริกาเหนือ เช่น อียิปต์ เยเมน ตูนิเซีย ก็อาจได้รับผลจากการจลาจลกลางเมืองได้เช่นกัน แม้แต่นั่งอยู่บนรถตู้ ก็ยังมีลูกเศรษฐีไม่มีใบขับขี่ขับรถมาชนท้าย รถตู้ตกทางด่วนตาย ก็ยังได้ ดังนั้น ชีวิตของเราจึงไม่มีความแน่นอน ในฐานะของมุสลิม เราต้องยอมรับความจริงข้อนี้ และต้องพร้อมที่จะตาย ตายในสภาพของมุสลิม ตายอย่างสมศักดิ์ศรี
   จะเรียกว่าตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมุสลิมก็ต้องตายโดยมีกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺ ยึดมั่นศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นเจ้า และมุหัมมัดเป็นศาสนทูต ทำตามที่อัลลอฮฺและเราะสูลใช้ เว้นที่อัลลอฮิและเราะสูลห้าม ยิ่งถ้าตายในขณะที่กำลังปฏิบัติกิจภักดีต่ออัลลอฮฺก็ยิ่งดี เช่น ตายในขณะเอียะหฺรอมหัจญฺ ตายขณะกำลังก้มสุญูด ตายในสภาพถือศีลอดเราะมะฎอน
   ตรงกันข้าม ถ้าตายในขณะทำความชั่ว ก็จะต้องพบกับสภาพการลงโทษในกบูรฺ เช่น ตายเพราะตะโกนเชียร์ม้าแข่งที่พนันไว้ดังเกินไป ความดันเลือดขึ้น หลอดเลือดในสมองแตกตาย ตายคาอกของผู่ที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตน ตายเพราะถูกประหารชีวิตเนื่องจากประพฤติความชั่วอย่างร้ายแรง
   ดังนั้น ท่านเราะสูลจึงสอนให้มุสลิมมีสติพร้อมที่จะตายอยู่เสมอ คือให้ทำความดีต่ออัลลอฮฺเหมือนกับว่าจะตายในวันรุ่งขึ้น คนที่รู้ว่าตัวเองจะตายในวันพรุ่งนี้ คงจะไม่มีใครที่ไม่รีบเร่งทำความดี นอกจากคนที่ไม่เชื่อว่าตายไปแล้วจะต้องถูกอัลลอฮฺสอบสวน และท่านเราะสูลยังให้มุสลิมตั้งสติไว้เสมอว่า ก่อนตายจะต้องยึดเอากะลิมะฮฺฮ ชะฮาดะฮฺไว้ให้มั่น ประโยคสุดท้ายที่จะกล่าวก่อนตายจึงควรเป็นกะลิมะฮฺชะฮาดะฮฺนี้เอง ท่านเราะสูลกล่าวไว้ว่า



   “ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขาคือประโยคที่ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เขาจะได้เข้าสวรรค์”
                           อะบูดาวูดและอัลหากิม
   ชีวิตหลังความตายเป็นเรื่องของความลับที่อัลลอฮฺทรงเปิดเผยให้เราทราบแต่เพียงเล็กน้อยและส่วนหนึ่งจากนั้นก็คือ การที่เราจะยังไม่ได้รับการตัดสินความดีความชั่วในทันที แต่เป็นการพักอาศัยอยู่ในโลกชั่วคราว โลกที่คั่นระหว่างดุนยากับอาคิเราะฮฺ เรียกว่า โลกบัรฺซัค โลกบัรฺซัคนี้เองที่มัยยิตของผู้ตายจะได้รู้ว่าเขาจะถูกตอบแทนด้วยสวรรค์หรือนรก ถ้าเขาประพฤติแต่ความชั่ว ตายในสภาพที่เป็นชิริก หรือตายในสภาพที่ไม่ได้เป็นมุสลิม เขาก็จะถูกลงโทษในกุบูรฺ เช่น ถูกกระชากวิญญาณออกจากร่างด้วยความรุนแรงและเจ็บปวด วิญญาณถูกห่อหุ้มด้วยผ้าที่มาจากนรกและมีกลิ่นเหม็น ถูกเรียกขานด้วยชื่อที่เลวที่สุดในโลกดุนยา ถูกกระน่ำตีด้วยกระบองจนแหลกละเอียด และกลับกลายเป็นร่างเดิมใหม่ ก่อนที่จะถูกกระหน่ำตีเช่นนั้นอีก ความเจ็บปวด ความเกรงกลัวของเขาทำให้เขาร้องจนสุดเสียง ทุกสรรพสิ่งได้ยินทั้งหมดนอกจากญินและมนุษย์    ส่วนผู้ที่ตายในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธาและประพฤติดีนั้นตรงกันข้าม มะลาอิกะฮฺจะมาเชิญวิญญาณของเขาออกจากร่างด้วยคำพูดที่นุ่มนวลและวิญญาณก็จะออกมาประหนึ่งน้ำที่ไหลออกมาจากเหยือกน้ำ วิญญาณถูกห่อหุ้มด้วยผ้าที่มาจากสวรรค์และมีกลิ่นหอม ถูกเรียกขานด้วยชื่อที่ดีที่สุดของเขาในโลกดุนยา หลุมฝังศพถูกขยายให้กว้างขวาง    ในกุบูรฺนั้น ไม่มีอะไรจะช่วยมัยยิตได้เลย นอกจากอะมัลอิบาดะฮฺที่เขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยานี้ ญาติมิตรลูกหลานอันมากมายที่ช่วยกันขอดุอาอุ์ให้ อัลลอฮฺก็จะทรงรับเฉพาะของลูกที่ดี ทรัพย์สินที่มากมายก็เอาไปในหลุมด้วยไม่ได้ คิดจะเอาไปติดสินบนมะลาอิกะฮฺอย่าให้ตี อย่าให้ลงโทษเหมือนที่เคยติดสินบนใครต่อใครในโลกดุนบาก็คงจะไม่สำเร็จ    คนที่ดี ๆ นั้น อะมัลความดีของเขาจะมาพบกับเขาในรูปของชายหนุ่มรูปงามที่มีกลิ่นกายหอม สวมใส่อาภรณ์ที่สวยงาม และจะมากล่าวกับเขาว่า “ฉันมาแจ้งข่าวดีถึงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสัญญาไว้กับท่านถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺและสวนสวรรค์อันผาสุก” มัยยิตที่ดีจะถามว่า “ท่านเป็นใคร ใบหน้าของท่านบ่งบอกว่าจะนำมาซึ่งความดี” อะมัลของเขาตอบว่า “วันนี้เป็นวันที่ท่านได้ถูกสัญญาไว้ ฉันเป็นอะมัลที่ศอลิหฺของท่าน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า สิ่งที่ฉันรับรู้เกี่ยวกับท่านก็คือ ท่านเป็นผู้รีบเร่งในการเชื่อฟังอัลลอฮฺ เชื่องช้าในการฝ่าฝืนพระองค์ ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีให้กับท่าน”    พี่น้องต้องพิจารณาว่า ท่านเป็นผู้รีบเร่งในการทำความดีหรือรีบเร่งในการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ท่านเป็นผู้เชื่องช้าในการทำความดีหรือเชื่องช้าในการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ถ้าท่านมั่นใจว่าอยู่ในฝ่ายที่ทำความดี ก็จงกระทำต่อไป แต่ถ้าท่านไม่มั่นใจขอให้รู้ว่า ในกุบูรฺนั้น การงานที่เลวมันก็จะมาพบกับมัยยิตเหมือนกัน ในรูปร่างของชายอัปละกษณ์ที่มีกลิ่นเหม็น สวมเสื้อผ้าน่าเกลียด มาบอกว่า  “ฉันมาแจ้งข่าวดีถึงการลงโทษและความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺ” มัยยิตถามว่า “ท่านเป็นใคร ใบหน้าของท่าน เป็นใบหน้าที่บ่งบอกว่าจะนำมาซึ่งความเลวร้าย การงานที่เลวของเขาก็ตอบว่า “ฉันคือการงานที่เลวของท่าน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า สิ่งที่ฉันรับรู้มาจากท่านก็คือ ท่านเป็นผู้เชื่องช้าในการเชื่อฟังอัลลอฮฺ รวดเร็วในการฝ่าฝืนพระองค์”    ดังนั้น พี่น้องทั้งหลาย ขอให้เรามุ่งมั่นในการทำความดีเพื่ออัลลอฮฺ อย่าเห็นแก่ทรัพย์สินเงินทองให้มากนัก เพราะมันช่วยอะไรเล่าไม่ได้เลยในกุบูรฺและในอาคิเราะฮฺ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการอภัยโทษในความผิดทั้งปวงยังขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺเสมอในการตะชะฮฮุดครั้งสุดท้ายว่า


    “ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษในญะฮันนัม และการลงโทษในหลุมศพ และให้พ้นจากความวุ่นวายของการมีชีวิตและการเสียชีวิต และการก่อกวนของมะสีหิดดัจญาล”
   เราจึงควรนำดุอาอุ์นี้มาอ่านเพื่อขอความเมตตาจากอัลลอฮฺเสมอ ๆ ในตอนท้ายของตะชะฮฮุด หลังเศาะละวาต (ก่อนกล่าวสลาม) และเราต้องระลึกถึงคำสอนของท่านเราะสูลที่ว่า


    “มีสามสิ่งจะติดตามผู้ตาย (ไปยังกุบูรฺ) ครอบครัวของเขา ทรัพย์สินของเขาและการงานของเขา สองสิ่งจะจากเขาไป สิ่งหนึ่งจะคงอยู่กับเขา ครอบครัวและทรัพย์สินเงินทองจะจากเขาไป สิ่งที่จะอยู่กับเขาก็คือการงานของเขา”                      
บุคอรียฺ, มุสลิม
   พี่น้องลองพิจารณาดูเองว่า อะมัล คือการงานที่จะอยู่เป็นเพื่อนท่านในกุบูรฺนั้น เป็นอะมัลดีหรืออะมัลเลว ถ้ายังคิดว่าเป็นอะมัลเลว ต้องรีบกลับเนื้อกลับตัวเสียแต่วันนี้ หันมาผลิตอะมัลดี ๆ ที่จะอยู่เป็นเพื่อนของเราในกุบูรฺต่อไป

      
คัดลอกจากเอกสารเผยแพร่ของมัสญิดอัร-ริฎวาน(นานา)
ที่มา  http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,8250.0.html

หัวข้อ: เดือนชะอฺบานเดือนที่ถูกลืม

بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين


เดือนชะอฺบานนั้น  ยังเป็นเดือนที่มีความประเสริฐและมีความโดดเด่นกว่าเดือนอื่น ๆ  เดือนนี้ถือเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลถูกยกนำเสนอต่ออัลเลาะฮ์ ตาอาลา  เป็นเดือนที่อัลเลาะฮ์ตาอาลา ทรงเมตตาต่อบรรดาผู้ขอความเมตตาต่อพระองค์  เป็นเดือนที่พระองค์ทรงอภัยโทษแก่บรดาผู้ขออภัยโทษกับพระองค์  และยังเป็นเดือนที่อัลเลาะฮ์ ตาอาลา ทรงปลดปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ออกจากไฟนรก

ท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน กล่าวว่า "ฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดสมบูรณ์ในเดือนหนึ่งนอกจากเดือนร่อมะฏอน และฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์จะทำการถือศีลอดจากเดือนหนึ่งมากไปว่าเดือนชะอฺบาน" รายงานโดยบุคอรีย์

ท่านอุซามะฮ์ บิน เซด กล่าวว่า "ฉันได้กล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ฉันไม่เคยเห็นท่านทำการถือศีลอดในเดือนหนึ่งจากบรรดาเดือนทั้งหลายเหมือนกับการถือศีลอดในเดือนชะอฺบานเลย ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ดังกล่าวเป็นเดือนที่ผู้คนทั้งหลายลืม ซึ่งมันอยู่ระหว่างเดือนร่อญับและเดือนร่อมะฏอน และ(เดือนชะอฺบานนั้น)มันเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลทั้งหลายถูกรายงานสู่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้นท่านจึงชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกรายงานในสภาพที่ฉันถือศีลอด" รายงานโดยอันนะซาอี

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย!  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวหะดิษนี้ให้แก่เรา  เพื่อผลักดันให้ทุกคนมีสายใยแห่งอีหม่านเกิดขึ้นระหว่างเขากับอัลเลาะฮ์ด้วยการทำอิบาดะฮ์  เพื่อให้ทุกคนหวนกลับไปยังพระองค์โดยทำการเตาบะฮ์จากบาปต่าง ๆ ของเขา  เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทกระทำความดีงามในทุกรูปแบบเพื่อบรรดาอะมัลของเขาจะถูกนำเสนอไปยังอัลเลาะฮ์ในเดือนชะอฺบานนี้  และหวังว่าบรรดาอะมัลคุณงามดีต่าง ๆ ที่ได้กระทำในเดือนนี้จะได้ลบล้างความชั่วต่าง ๆ ที่เราได้กระทำผ่านพ้นมา  แม้จะเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาแล้วก็ตาม  อินชาอัลเลาะฮ์ 

รายงานจากท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) "เมื่อถึงคืนนิสฟูชะอฺบาน พวกท่านจงละหมาด(ทำอิบาดะฮ์)ในช่วงกลางคืนและทำการถือศีลอดในช่วงกลางวัน เพราะหลังจากดวงอาทิตย์ลับ อัลเลาะฮ์ทรงลง(ความจำเริญ) มาสู่ฟากฟ้าชั้นล่างสุด และพระองค์กล่าวว่า ไม่มีผู้ขออภัยโทษกับข้าฯดอกหรือ เพื่อข้าฯจะอภัยให้แก่เขา ไม่มีผู้วอนขอริสกีดอกหรือ เพื่อข้าฯจะประทานริสกีให้แก่เขา ไม่มีผู้ได้รับบาลออฺการทดสอบดอกหรือ เพื่อข้าฯจะให้เขาหาย ไม่มีผู้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ดอกหรือ จนกระทั่งแสงอรุณขึ้น" รายงานโดย อิบนุมาญะฮ์  และ ท่านอัลบัยฮะกีย์

รายงานจากอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์จะทรงมองมาจากมัคโลคของท่านในค่ำคืนนิสฟูชะอฺบาน ดังนั้นพระองค์ทรงอภัยให้แก่บรรดาปวงบ่าวนอกจากสองบุคคลเท่านั้น คือผู้ที่สร้างความรังเกียจต่อกันและผู้ที่ฆ่ากับชีวิตหนึ่ง" รายงานโดยท่านอิมามอะห์มัด

รายงานจากมุอาซฺ บิน ญะบัล ว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์จะมองมายังมัคโลคของพระองค์ในคืนนิสฟูชะอฺบาน แล้วพระองค์ก็จะทรงอภัยให้บรรดามัคโลคทั้งหมดนอกจากผู้ตั้งภาคีหรือผู้ที่สร้างความรังเกียจต่อกัน" รายงานโดยท่านอิบนุฮิบาน

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย!  เรามีความจำเป็นที่จะต้องฉวยโอกาสในยามที่อัลเลาะฮ์ทรงสำแดงความเมตตาที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์  ซึ่งเราก็ทราบดีว่าเรานั้นมีบาปที่ไม่สามารถรอดพ้นจากมันได้เลย  นอกจากเสียว่าเราจะทำการเก็บเกี่ยวช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกเล่าให้เราทราบ  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานความเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์  และไม่มีหนทางใดอีกแล้วนอกจากโอกาสเหล่านี้ที่เราจะวอนขอความเมตตาต่ออัลเลาะฮ์  ขออภัยโทษต่อพระองค์ ทำการแผ่ฝ่ามือวอนขอต่อพระองค์อย่างนอบน้อมเพื่อให้พระองค์ทรงบรรเทาลดบาปต่าง ๆ ให้ออกไปจากเรา  และให้พระองค์ทรงอภัยและประทานสุขภาพที่ดีแก่เรา

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย!  เดือนชะอฺบานนี้  เป็นเดือนที่ผู้คนมากมายต่างหลงลืมถึงความสำคัญที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้  ดังนั้น  หากเราจะมองและพิจารณาถึงความเมตตาของอัลเลาะฮ์ตาอาลา นั้น  สมมุติว่ามีบ่าวคนหนึ่งที่มีความอธรรมต่อตัวเขาเองอีกทั้งยังมีบาปหนา  ได้รุดไปยังประตูของอัลเลาะฮ์แล้วทำการเคาะประตูนั้นเพื่อขออภัยโทษจากพระองค์  แต่ความจริงแล้วกลับตรงกันข้าม  เพราะอัลเลาะฮ์ตาอาลาจะทรงเชื่อมสัมพันธ์กับปวงบ่าวของพระองค์ด้วยการเรียกร้องให้พวกเขาหวนกลับไปปรับปรุงตนเองกับพระองค์  เรียกร้องพวกเขาให้เข้าไปสู่ปกเกล้าของพระองค์เพื่อจะทรงประทานความเมตตาและอภัยโทษให้กับพวกเขา  อีกทั้งยังปลดเปลื้องบาปให้ออกไป  ซึ่งนั่นคือรูปแบบหนึ่งจากรูปแบบต่าง ๆ แห่งความเมตตาของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อปวงบ่าว  มันเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้มนุษย์มีความละอายต่อพระองค์  กล่าวคือความละอายของมนุษย์ที่ไม่ทำการเตาบัตขออภัยโทษและขอความเมตตาต่อพระองค์  ทั้งที่พระองค์ทรงเปิดโอกาสเป็นพิเศษให้ในเดือนชะอฺบานนี้แล้ว 

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย!  เดือนชะอฺบานนี้  อัลเลาะฮ์ทรงเรียกร้องพวกเราไปสู่พระองค์ในทุกโมงยามเพื่อพระองค์จะทรงประทานความเมตตาและอภัยโทษ  แต่เรากลับทำเพิกเฉย  หันหลังให้  ทำไม่รู้ไม่ชี้อย่างไม่ละอาย  ทั้งที่พระองค์กำลังกล่าวแก่เราว่า  ขณะนี้ถึงเวลาที่เราได้อนุญาตให้พวกเจ้ากลับมายังเราก่อนที่โอกาสอันดีจะสิ้นสุดลง  ซึ่งมันถึงเวลาแล้ว

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

أَلَمْ يَأْنِ لِلَّذِينَ آمَنُوا أَنْ تَخْشَعَ قُلُوبُهُمْ لِذِكْرِ اللَّهِ وَما نَزَلَ مِنَ الْحَقِّ وَلا يَكُونُوا كَالَّذِينَ أُوتُوا الْكِتابَ مِنْ قَبْلُ فَطالَ عَلَيْهِمُ الأَمَدُ فَقَسَتْ قُلُوبُهُمْ

"ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ  สำหรับบรรดาผู้มีศรัทธาที่หัวใจของพวกเขาจะนอบน้อมเพื่อการรำลึกถึงอัลเลาะฮ์   และระลึกถึงสัจธรรมที่ประทานลงมา(สู่พวกเขา)?  และพวกเขาจงอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ที่เคยถูกประทานคัมภีร์ให้เมื่อยุคก่อน ๆ แต่แล้วเมื่อกาลเวลาได้ผ่านพวกเขาไปอย่างยาวนาน  หัวใจของพวกเขาก็แข็งกระด้างและส่วนมากของพวกเขาล้วนเป็นผู้ฝ่าฝืน" อัลหะดีด 16
นั่นคือรูปแบบหนึ่งจากรูปแบบต่าง ๆ จากความเมตตาของอัลเลาะฮ์ที่มีเกียรติยิ่ง

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย!   ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมิใช่หมายความว่า  เป็นความเพียงพอสำหรับมุสลิมคนหนึ่งที่ได้หวนกลับไปหาอัลเลาะฮ์เพื่อขอเพิ่มพูนความเมตตาและขออภัยต่ออัลเลาะฮ์ให้กับตัวเขาเองเพียงแค่โอกาสนี้เพียงเท่านั้น  พอโอกาสนี้หมดไปเขาก็กลับมาทำการฝ่าฝืนเหมือนเดิม  ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลายโปรดเข้าใจว่า  โอกาสต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้นั้นมีอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดตอน  ซึ่งมันเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความเมตตาของอัลเลาะฮ์ที่เราต้องตระหนักว่า เราต้องมุ่งสู่พระองค์อย่างสม่ำเสมอ

พระองค์ทรงตรัสความว่า

وَاعْبُدْ رَبَّكَ حَتَّى يَأْتِيَكَ الْيَقِينُ

"เจ้าจงอิบาดะฮ์ต่อองค์อภิบาลของเจ้าจนกว่า (ความตายอันเป็นสิ่งที่เจ้ามี) ความมั่นใจมาประสบแก่ตัวเจ้า" อัลฮิจริ์ 99

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

قُلْ إِنَّ صَلاتِي وَنُسُكِي وَمَحْيايَ وَمَماتِي لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِينَ

"จงประกาศเถิด  แท้จริงการละหมาดของฉัน , การทำอิบาดะฮ์ของฉัน , การมีชีวิตของฉัน , และการตายของฉัน  เพื่ออัลเลาะฮ์  ผู้ทรงอภิบาลแห่งโลกทั้งมวล" อัลอันอาม 162

ดังนั้น  เราจำเป็นต้องทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา จนกระทั่งตาย  แต่เดือนชะอฺบานถือเป็นโอกาสหนึ่งที่สำคัญในการหวนกลับไปสู่การขอการอภัยโทษที่เราต้องฉวยเก็บเกี่ยวมันไว้  อย่ารอไว้โอกาสหน้า  เพราะบางครั้งท่านอาจจะไม่มีโอกาสหน้าอีกแล้ว  เนื่องจากความตายอาจจะมาเยือนท่านได้ทุกเวลา

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย  สมควรที่เราจำต้องทราบว่า  ความเป็นทาสบ่าวของเราที่มีต่ออัลเลาะฮ์นั้น  เป็นสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ภายใน  ความเป็นทาสบ่าวของเรานั้นยังเป็นตัวตนอยู่ภายในตัวเราที่ไม่มีวันเปลี่ยนผัน  ดังนั้น  การทำอะบาดะฮ์ของเราจึงต้องคงมีอยู่ตลอดไป  อิบาดะฮ์นั้นมีปลายประเภท  ซึ่งอิบาดะฮ์ลำดับแรก ๆ ที่ประเสริฐยิ่งคือการมุ่งวอนขอดุอาอ์อันนอบน้อมต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา เพราะฉะนั้น  ตราบใดที่มนุษย์ยังคงเป็นบ่าวที่เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์   เขาก็ยังต้องการที่จะให้พระองค์ทรงคุ้มครองดูแล  เหตุดังกล่าวนี้  เราจึงต้องวอนขอความช่วยเหลือและขอดุอาอ์ต่อพระองค์ในทุกเวลา  คืนนิสฟูชะอฺบาน  เราจงขอให้อภัยโทษต่ออัลเลาะฮ์  ขอให้พระองค์ทรงประทานริสกีที่ดี และขอความช่วยเหลือจากพระองค์ให้พ้นจากภัยบะลอกันเถิด

أقول قولى هذا وأستغفر الله العظيم لى ولكم